วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่วนที่ 3 เขตอำนาจศาล


เขตอำนาจศาล
1. ศาลชั้นต้น มาตรา 16
·         ศาลชั้นต้นทั่วไป
·         ศาลแพ่ง และศาลอาญา
·         ศาลยุติธรรมอื่นๆ
2. ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มาตรา 21
อำนาจศาล
1.     ศาลชั้นต้น
·         แขวง (มาตรา 17 + 24 +25 ว.1)
·         จังหวัด (มาตรา 18)
·         ศาลแพ่ง + แพ่งกรุงเทพใต้ + แพ่งธนบุรี (มาตรา 19 ว.1)
·         อาญา + อาญากรุงเทพใต้ + อาญาธนบุรี (มาตรา 19 ว.2)
·         อื่นๆ (มาตรา 20)
2.     ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค (มาตรา 22)
3.     ศาลฎีกา (มาตรา 23)
ศาลชั้นต้น
1.เขตอำนาจของศาลแพ่งและศาลอาญา นอกจาก มาตรา 16 ว.2 ยังมี มาตรา 16 ว.3 อีก คือ
                1.1. เกิดนอกเขตศาลแพ่งหรือศาลอาญา
                1.2. มาฟ้องศาลแพ่ง หรือศาลอาญา
                1.3. ซึ่งศาลแพ่ง หรือศาลอาญา อาจจะให้ดุลยพินิจรับพิจารณา หรือ โอนคดีไปยังศาลที่เกี่ยวข้อง
                *** ศาลแพ่ง และศาลอาญา เป็นศาลกลาง ภายลังจะกลับมาใช้ดุลยพินิจปฎิเสธไม่ยอมพิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไปไม่ได้ (มาตรา 16 ว.3)
ก)     ศาลอาญาประทับรับฟ้องไปแล้ว จะปฎิเสธไม่ได้ จะอ้างว่าพลั้งเพลอ หลงผิดเขตอำนาจศาลไม่ได้ แต่เพียงสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องยังไม่ถึงประทับฯไม่รับได้
*** ถ้าไม่ใช้อำนาจผู้พิพากษาประทับ มาตรา 25(3) = ไม่ชอบ = โอนได้
ข)      ศาลแพ่ง
a.       ข้อเท็จจริงยื่นฟ้องแล้ว คดีเกิดนอกศาล
b.      รับฟ้อง  ต่อมารู้ความจริงมิได้ดำเนินพิจารณาต่อไป + ใช้ดุลยพินิจปฎิเสธได้ทันที เพราะมิได้บรรยายฟ้องคดีในเขตอำนาจศาลแพ่ง ย่อมถือไม่ได้ว่าศาลแพ่งใช้ดุลยพินิจรับคดี
c.       ถ้าในโอกาสแรกใช้ดุลยพินิจ แต่กลับดำเนินต่อแ = ใช้ดุลยพินิจแล้ว
2. ศาลจังหวัดไม่มีศาลแขวง (มาตรา 18) มีอำนาจพิจารณาคดีของศาลแขวงด้วย แต่ถ้ามีศาลแขวง และ คดีมาตรา 25 (4)และ(5)  -> ศาลแขวง ตามมาตรา 17
3. นำคดีขึ้นศาลจังหวัดเป็นคดีศาลแขวง มาตรา 16 วรรคสี่ ให้โอนคดี หากไม่เข้าเงื่อนไขศาลจังหวัดต้องรับ
                3.1. คดีในเขตและอำนาจศาลแขวง
                3.2. ฟ้องศาลจังหวัด
                3.3. ให้ศาลจังหวัดโอนคดีเท่านั้น
·         คดีที่ต้องฟ้องศาลจังหวัด แต่ต่อมาเข้าอำนาจศาลแขวง โดยโอนคดีตามมาตรา 16 วรรคสี่ ได้แก่
1.     ฟ้องขับไล่ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่ถ้าจำเลยต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ จะกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ หากไม่เกิน 3 แสนบาท จะโอนคดีสู่ศาลแขวง
  หากต่อสู้ว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่น จะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ (ไม่ต้องโอนคดี)
2.     ขาดฟังคำให้การ แต่คำฟ้องเห็นชัดว่า ที่ดินโจทย์เป็นที่สาธารณะ  = คดีมีทุนทรัพย์
3.     ขัดค้านการชี้เขตที่ดิน =  คดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่ถ้าโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์เป็นประเด็นหลักจะกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์
4.     ผู้ร้องสอดมอบหมายให้จำเลยดูแลประโยชน์ที่ดินตลอดมา เสมือนคำให้การและคำฟ้องแย้ง จึงเปลี่ยนคดีไม่มีทุนทรัพย์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์
5.     ฟ้องขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณราคาได้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
6.     โจทก์ยื่นลดทุนต่ำกว่า 3 แสนบาท + ศาลอนุญาต > โอนคดี แต่ถ้าอ่านคำร้องไม่เข้าใจว่าต้องการแก้ไขส่วนใดของคำฟ้อง ศาลจะสั่งให้ทำคำร้องใหม่ยื่นภายหลังใน 7วัน มิฉะนั้นจะไม่รับคำร้อง ศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง
7.     โจทก์ฟ้องในข้อหา ตาม ป.อ. มาตรา 335,354,265 โทษเกินกว่ามาตรา 25(5) อยู่ในแขวง ต้องโอนคดี
8.     ฟ้องคดีศาลจังหวัดเกี่ยว ป.วิ.อ มาตรา 24 ระหว่างพิจารณาโจทก์ถอนฟ้องอัตราโทษเกินอำนาจศาลแขวง ศาลจังหวัดอยู่ในบังคับมีอำนาจศาลแขวง  > โอนตามมาตรา 16 ว.4 เช่นกัน เพาะข้อหาความผิดนั้นเกี่ยกับคดีที่เหลืออยู่ในเขตอำนาจศาลแขวง ศาลจังหวัดไม่มีอำนาจตามมาตรา 18
ข้อสังเกต ถ้าศาลจังหวัดไต่สวนลงโทษบทหนัก พิจารณาแล้วข้อหาบทเบาอยู่ในอำนาจศาลแขวง ย่อมลงโทษในข้อหาอำนาจศาลแขวง และยกฟ้องข้อหาที่เกินอำนาจศาลแขวงได้
9.     โจทก์ฟ้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยอ้างเป็นที่สาธารณะ ประเด็นของโจทก์คือเรียกร้องที่ดินเกิน 3 แสนบาท จึงอยู่ในอำนาจศาลแขวง แม้คำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งรื้อถอนของจำเลยก็เป็น คำขอต่อเนื่อง
10.            มาตรา 16 วรรคสี่ ใช้คำว่า “ศาลจังหวัด” แต่เจตนาคือ ไม่ประสงค์ให้ศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงรับพิจารณาคดีของศาลแขวง เช่น ศาลแพ่งธนบุรี(ศาลจังหวัด) มีศาลแขวงธนบุรีและศาลแขวงตลิ่งชันในเขต
11.            ในกรณีที่คดีอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวง แต่ยื่นศาลจังหวัด มาตรา 16วรรคสี่ ถ้าศาลจังหวัดไม่รับคำฟ้อง = มิชอบ
12.            คำสั่งโอนตามมาตรา 16วรรคสาม และวรรคสี่ เป็นการออกคำสั่งใดๆ มิใช่ทางชี้ขาด ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวทำได้ (มาตรา24(2)) แม้ผู้ออกคำสั่งเป็น “ผู้พิพากษาประจำศาล” ก็ตาม เพราะบทมาตรา 25(3),(4),(5) เท่านั้นที่ไม่มีอำนาจ
อำนาจศาลอุทธรณ์
มาตรา 22 อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้นมาสู่ศาลอุทธรณ์
(1)    พิพากษายืนตาม / แก้ไข / กลับ / ยกคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นพิพากษาประหาร หรือจำคุกตลอดชีวิต *หน้าที่ต้องส่งมาศาลอุทธรณ์*
(2)    ชี้ขาดคำร้องขอที่ยื่นตามกฎหมาย – แม้ไม่ได้บัญญัติให้ยื่นก็ยื่นได้ ตาม พรบ. จัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาค 2535 มาตรา 8 ยกเว้นอำนาจประธานศาลอุทธรณ์เฉพาะ เช่นเรื่องการโอนคดี
(3)    วินิจฉัยชี้ขาดมีอำนาจตามกฎหมายอื่น เช่น คดีเลือกตั้ง
อำนาจศาลฎีกา
มาตรา 23
·         พิจารณาคดีที่รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นเสนอโดยตรง
·         ศาลอทุธรณ์ / ฎีกาคำพิพากษา/ คำสั่งศาลชั้นต้น/ ศาลอุทธรณ์ตามกฎหม่าย แว้นแต่ ศาลฎีกาเห็นว่าข้อกฎหมาย / ข้อเท็จจริงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา
o   ถ้าศาลฎีกาได้พิจารณา / มีคำสั่งแล้ว ไม่มีสิทธิทูลเกล้าฯถวายีกาต่อไป
·         รัฐธรรมนูญ มาตรา 219วรรคสอง และมาตรา 23 พระธรรมนูญฯ แบ่งคดีเป็น 2 ลักษณะ
(1)    คดีที่รัฐธรรมนูญ / กฎหมายบัญญัติให้ฎีกาโดยตรง > ระบบศาลชั้นเดียว
เจตนารมณ์เพื่อชี้ขาดโดยตรง มิฉะนั้นจะมีผลกระทบต่อการปกครองและการเมือง
(2)    คดีที่อุทธรณ์ / ฎีกาคำพิพากษา / คำสั่งศาลอุทธรณ์ / ศาลชั้นต้น > ระบบศาลสองขั้น หรือ ระบบศาลสามชั้น
ความต่างระหว่าง ข้อ(1) กับ ข้อ(2)
·         ถ้าเข้า ข้อ(1) ไม่มีข้อยกเว้น แต่ถ้าเข้าข้อ(2) จะนำ “ระบบอนุญาต” มาผสม > การใช้ดุลยพินิจ สมควรพิจารณษหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น