วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

บรรณานุกรรม


บรรณานุกรรม
ธานิศ  เกศวพิทักษ์. หัวใจของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง.  พิมพ์ครั้งที่ 6.   
กรุงเทพฯ:พลสยาม พริ้นติ้ง.  2554.

ศาลอุทธรณ์.  เขตอำนาจศาลอุทธรณ์. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :
            http://www.appealc.coj.go.th/info.php?cid=4&pm=4. (วันที่ค้นข้อมูล : 5 มกราคม 2556). 
ศาลยุติธรรม.  ผู้บริหารสำนักงานศาลยุติธรรม.  ใหม่. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:
            http://www.coj.go.th/coj2008/picture/judi-organzation-pic/the-office-of-judiciary-orgazation.htm (วันที่ค้นข้อมูล : 5 มกราคม 2556). 
กฎหมายดอตคอม.  พ.ร.บ. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พศ.2543. ใหม่. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:
            http://www.kodmhai.com/m4/m4-11/H11/m1-14.html (วันที่ค้นข้อมูล : 5 มกราคม 2556). 
 ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม.  ระบบศาลภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:
            http://www.library.coj.go.th/newlaw.php.  (วันที่ค้นข้อมูล : 5 มกราคม 2556). 

ส่วนที่ 7 การเรียกคืน การโอนสำนวนคดี และการขอคืนสำนวนคดี


ส่วนที่ 7 การเรียกคืน  การโอนสำนวนคดี และการขอคืนสำนวนคดี
มาตรา 33             หลัก :      1. ผู้มีอำนาจเรียกคืน / โอนสำนวน คือ
Ø  ประธานศาลฎีกา / ศาลอุทธรณ์ / ศาลอุทธรณ์ภาค / ศาลชั้นต้น
Ø  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
**อธิบดีผู้พิพากษาภาคไม่มีอำนาจ**
                                                2. เงื่อนไข – 2 ประเภท
                                                                2.1 กระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณา
                                                                2.2 รองต่างๆ / ผู้พิพากษาที่มีอวุโสศาลจังหวัด หรือศาลแขวงเห็นสมควรทำ
                                                **ผู้พิพากษาอาวุโส กับผู้พิพากษาประจำศาล ไม่มีอำนาจ**
มาตรา 33 วรรคท้าย          1.ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน หรือคณะ มีคดีค้างจำนวนมาก ทำล่าช้า
                                                2. ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน หรือคณะ ขอคืนสำนวน
                ผล                          หัวหน้าตามาตรา 33 วรรคหนึ่ง – รับคืน และโอนให้ผู้พิพากษา หรือคณะอื่นทำแทน

ส่วนที่ 6 การจ่ายสำนวนคดี


มาตรา 32             หลัก :      1. ผู้มีอำนาจจ่ายสำนวนคดี คือ หัวหน้าศาลต่างๆ ยกเว้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ไม่มีอำนาจจ่ายสำนวนในเขตภูมิภาค
                                                2. หลักเกณฑ์ และวิธีการ – ตามระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
                                                3. เงื่อนไข - 1. ความเหมาะสม 2. ปริมาณคดีของผู้พิพากษา
                                                4. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ – สำนวนดคี 3 ประเภท
                                                                -> คดีทั่วไป / คดีพิเศษ / คดีจัดการพิเศษ

ส่วนที่ 5 องค์คณะผู้พิพากษา


ส่วนที่ 5 องค์คณะผู้พิพากษา
1.     องค์คณะผู้พิพากษาศาลแขวง >> มาตรา 26+17+24+25ว.1 : ผู้พิพากษาที่ไม่ใช่ผู้พิพากษาประจำศาลเป็นองค์คณะพิพากษาได้
2.     องค์คณะผู้พิพากษาศาลชั้นต้นนอกจากศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นๆ
มาตรา 26             หลัก :      1.ผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน
                                                2. ต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาล เกิน 1 คน
มาตรา 25              หลัก:       แม้ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น(ยกเว้นศาลแขวง) ใช้อำนาจมาตรา 25(1)-(5) ผู้พิพากษาคนเดียวทำได้ แต่พิพากษาลงโทษได้ไม่เกิน 6 เดือน หรือ 1หมื่นบาท
3.     องค์คณะผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ / อุทธรณ์ภาค / ศาลฎีกา – ผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน (มาตรา 27)
*** คนเดียวสามารถทำตาม มาตรา 24 (1) และ(2) ได้ แต่ไม่มีอำนาจ ตามาตรา 25
“องค์คณะผู้พิพากษา” – จำนวนผู้พิพากษาอย่างน้อยที่ทำหน้าที่ดำเนินกระบวนการพิจารณาคดี / พิพากษาคดี  = การจ่ายสำนวนแก่องค์คณะ มาตรา 32 นั้นเอง
หากเป็นคดีสำคัญอาจตั้งอง๕คณะเกินกว่า 2 คนตามที่ มาตรา 25 กำหนดก็ได้
หากนั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะจะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 หหากมีเหตุอื่นที่มิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 30 ทำให้ไม่อาจพิจารณาคดีต่อไปได้ ผู้พิพากษาหัวหน้า / อธิบดี /ผู้ทำการแทน มาตรา 28(3) หรือ29(3)  **ศาลแขวงต้องระวังเรื่องอำนาจ**
ศาลจังหวัด มาตรา 26 กำหนดให้มี ผู้พิพากษา 2 คน หากมากกว่ามาตรา 26 ก็ต้องนั่งให้ครบตามที่กำหนด

ส่วนที่ 4 อำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว


ส่วนที่ 4 อำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว
1.       อำนาจผู้พิพากษา คนเดียวทุกชั้นศาล        มาตรา 24
2.       อำนาจผู้พิพากษา คนเดียวศาลชั้นต้น        มาตรา 25
3.       ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจ  มาตรา 25(3),(4),(5)
4.       ผู้พิพากษาประจำศาล และผู้พิพากษาอวุโสผู้ทำการแทนไม่ได้

1.       อำนาจผู้พิพากษา คนเดียวทุกชั้นศาล
มาตรา 24 ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษาตำแหน่งใดก็ทำได้
(1)    ออกหมายเรียก หมายอาญา หมายสั่งให้คนมาหรือไปยังจังหวัดอื่น
a.       หมายอาญา – มาตรา 2(9) ป.วิ.อาญา – หนังสือบงการ สั่งเจ้าหน้าที่ จับ/ขัง/จำคุก/ปล่อย/ค้น ผู้ต้องหาหรือนักโทษ อีกทั้งการทำสำเนาหมายจำคุก หรือคำค้นได้รับรองและบอกกล่าวทางโทรเลข / ทางโทรสาร / สื่ออิเล็กทรอนอกส์/สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น
***ไม่มีเรื่องอัตราโทษ***
b.      ออกคำสั่งใดๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี **ไม่ต้องดูทุนทรัพย์**
ป.วิแพ่ง
·         ไม่รับคำฟ้อง / คืนคำคู่ความ / ไม่รับอุทธรณ์เพราะเกินอายุอุทธรณ์
·         โอนคดี
·         งดสืบพยาน
·         รวมพิจารณา
·         ออกคำสั่งเพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล / ห้ามคู่ความก่อความรำคาญหรือมรทางประวิงให้ชักช้ามนทางฟุ่มเฟือยเกินสมควร
·         ลงโทษบุคคลฐานละเมิดอำนาจศาล
·         คำสั่งขับไล่คู่ความที่ประพฤติไม่เหมาะสมในบริเวณศาล
·         คำสั่งห้ามประชาชนเข้าฟังการพิจารณา
·         คำสั่งห้ามโฆษณาข้อเท็จจริง
·         คำสั่งเลือนการนั่งพิจารณาคดีเพื่อรอผลวินิจฉัย
·         ตรวจคำร้องขัดทรัพย์ – มีคำสั่งว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
·         คำสั่งให้รับเงินของผู้ร้องและถอนการยึด
ป.วิ.ญา
·         งดไต่สวนมูลฟ้อง / พิจารณาจนกว่าผู้ต้องหา / จำเลยหายวิกลจริตและสามารถต่อสู้คดีได้
·         แยกคดีแพ่งออกจากคดีอาญา
·         เรียกพยานหลักฐานในกรณีพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
·         คำสั่งโจทก์แก้ห้องให้ถูกต้อง หรือไม่ประทับรับฟ้อง ศาลตรวจเห็แล้วไม่ถูกต้อง หรือยื่นผิดศาล
·         คำสั่งให้พิจารณาเป็นการลับ
·         วินิจฉัยชี้ขาดคดีชั้น ขอคืนของกลางในทางคดีอาญาโทษไม่เกินมาตรา 25(5) มิใช่ มาตรา 25(5)แต่ต้องมีองค์คณะครบมาตรา 26
2.       อำนาจผู้พิพากษา คนเดียวศาลชั้นต้น มาตรา 25
(1) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้อง หรือคำขอที่ยืนต่อศาลในคดีทั้งปวง
>> การไต่สวน และการวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องไม่เหมือน มาตรา 24(2) – กระบวนการพิจารณาที่ศาลสั่งโดยคู่ความมิได้มีคำร้อง
        *การออกคำสั่งเพื่อคำร้องหรือคำขอขึ้นมานั้น หากต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่ง เช่น
·         ดำเนินคดีคนอนาถา
·         ยื่นคำให้การ
·         พิจารณาคดีใหม่
·         คุ้มครองชั่วคราว
·         ขอพิจารณาคดีคนอนาถาใหม่
*** แม้จะไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดก็ตาม ก็เข้ามาตรา 25(1)***
(2) ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย ป.อ. มาตรา 39 มี 5 อย่าง – กักกัน / ห้ามเข้าเขตกำหนด / เรียกประกันทัณฑ์บน / คุมตัวในสถานพยาบาล / ห้ามประกอบวิชาชีพบางอย่าง
o   และมีคำสั่งไม่น้อยกว่า 3 ปีได้ตาม ป.อ.มาตรา 41
o   ศาลเคยพิพากษาให้กักกันมาแล้วหรือโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ศาลจะถือว่าผู้นั้นกระทำผิดเป็นนิสัยจะพิพากษามากกว่า 3 ปี ไม่เกิน 10 ปีก็ได้  ยกเว้น เด็กอายุน้อยกว่า 17 ปี
o   ขยาย > ผู้ถูกกักกันกระทำความผิดตามที่ได้ระบุไว้นั้นไม่ต่ำกว่า 6 เดือน > เงื่อนไข มาตรา 41 ป.อ. แต่ มาตรา 25(5) ไม่ให้อำนาจผ้พิพากษาคนเดียวลงโทษเกิน 6 เดือน แต่มิใช่การลงโทษแต่เป็นการกักกัน เพื่อความปลอดภัยจึงทำได้ แต่การลงโทษนั้นต้องตามมาตรา 31(2)+29(3) กล่าวคือ หากลงโทษตามมาตรา 41 อธิบดีผู้พิพากษาชั้นต้น / รองฯ / ผู้พิพากษาหัวหน้าคนเดียวลงโทษ เว้นแต่ตรวจสำนวนต้องลงลายมือชื่อครบองค์คณะโดยมิได้ปรากฏมาตรา 31 (2) ประกอบ มาตรา 29(3) จะมิชอบตาม 25(5) และการกักกันมิชอบด้วย
(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา > คดีมีมูลคำสั่งประทับรับฟ้องหากเห็นว่าควรยกฟ้อง และโทษเกิน มาตรา 25(5) ผู้พิพากษาคนเดียวทำมิได้ > มิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 31(1) เกิดระหว่างกระทำคำพิพากษา แก้โดยมาตรา 29(3)
o   มาตรา 25 วรรคสอง “จำกัดอำนาจ” – ผู้พิพากษาประจำศาล มาตรา 25(3),(4),(5) ไม่มีอำนาจไต่สวนมูลฟ้อง และออกคำสั่งในคดีอาญา แต่ผู้พิพากษาอาวุโสไม่ได้ถูกจำกัดในมาตรา 25(3)
(4) พิจารณาคดีแพ่งมีทุนทรัพย์ ไม่เกิน 3แสนบาท  หากไม่มีทุนทรัพย์ หรือมีทุนทรัพย์เกินกว่า 3 แสนบาท จะไม่เข้ามาตรา 17+24(4) แม้จะมีทุนทรัพย์มรดกเล็กน้อยไม่เกิน 3 แสนบาท ยื่นต่อศาลจังหวัด มาตรา 18 ยื่นศาลแขวงไม่ได้
  คดีไม่มีทุนทรัพย์ เช่น แต่งตั้งผู้จัดการ, การฟ้องขับไล่ แม้มีการเรียกค่าเสียหาย เว้นแต่จำเลยจะต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์, เพิกถอนรายการประชุมบริษัท, เลิกห้างหุ่นส่วนนิติบุคคล(ไม่ต้องชี้ขาดกรรมสิทธิ์ หรือทรัพย์สินอยู่ในกิจการหุ้นส่วนนั้นเท่าใด), เพิกถอนกรรมสิทธิ์จาดกลฉ้อฉลของเจ้าหนี้,ห้ามจำเลยขัดขวางจะใช้สิทธิปักเสาพาดสายไฟเข้าบ้านโจทก์, ห้ามจำเลยเคาะพ้นสีรถยนต์เสียงดัง, ฟ้องเรียกโฉนดที่ดิน ผลไม่ทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนแปลง, สิทธิโจทก์ได้รับบำนาญ, ส่งเช็คคืนอ้างไม่มีมูลหนี้, โต้เถียงว่าชำระหนี้ตามเช็คแล้ว
  ผลคำพิพากษา หรือ คำสั่งเพิกถอนโจทก์ได้รับ หรือ สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดกลับคืนเป็นของโจทก์ – ย่อมเป็นคดีมีทุนทรัพย์
  หากคดีมีทุนทรัพย์ และคดีไม่มีทุนทรัพย์ปนกันมา
o   1). แยกออกจากกันเป็นเอกเทศต่างหาก -> แยกพิจารณา
o   2). คำขอต่อเนื่องกัน -> ดูคำขอประธานเป็นหลัก



การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาท
1.     ดอกเบี้ย – นับแต่วันที่ผิดนัด ถึง วันฟ้อง ; ให้รวมเป็นทุนทรัพย์พิพาท
 -  วันฟ้อง ถึง วันชำระ ; ดอกเบี้ย ไม่รวมเป็นทุนทรัพย์
2.     กรณีที่ยังมีข้อสงสัยโต้แย้งเรื่องทุนทรัพย์ ให้ศาลประมาณตามในเวลายื่นคดี
3.     โจทก์หลายคนใช้สิทธิเฉพาะตัวเป็นโจทก์ร่วมฟ้องมาในคดีเดียวกัน ให้คำนวณทุนทรัพย์พิพาทของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
4.     โจทก์คนเดียวฟ้องจำเลยหลายคน
a.       ร่วมกันรับผิด – คินทุนทรัพย์รวม
b.      แยกกันรับผิด เพราะมิใช่ลูกหนี้ร่วม
5.     โจทก์หลายคน – เป็นเจ้าหนี้ร่วม
6.     โจทก์คนเดียวฟ้องให้รับผิดตามสัญญาหลายคน > กู้ / เช็ค : รวม   แชร์ / ค้ำ : แยก
7.     จำเลยฟ้องแย้ง – คิดทุนทรัพย์แยกฟ้องเดิม ดังนั้น ฟ้องเดิมอยู่ศาลแขวง ฟ้องแย้งก็ต้องอยู่ศาลแขวงด้วย หรือต้องทำคำขอต่อเนื่องกับคำฟ้องเดิม  เพราะถ้าฟ้องเกินศาลแขวงอันเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิมก็ไม่อาจโต้แย้งโจทก์ต่อศาลแขวงได้ ต้องนำคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
8.     ฟ้องขัดทรัพย์ – คำร้องเกี่ยวกับการบังคับคดีในชั้นต้น คือ คดีแพ่งตัดสินชี้ขาดโดยศาลแขวง ผู้ร้องก็ต้องยื่นต่อศาลแขวง แม้จะมีทุนทรัพย์สูงก็ตาม แต่ราคาทรัพย์ที่ร้องขอให้ปล่อยเกินกว่า 3 แสน ผู้พิพากษาคนเดียวย่อมไม่มีอำนาจระบบองค์คณะเป็นไปตามมาตรา 26
9.     การร้องสอด – แยกจากคดีเดิม จะมีทุนทรัพย์หรือไม่ก็ตาม
10.                        พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สิน หรือ ราคาแทนผู้เสียห่าย ตาม ป.วิ.อ มาตรา 43-44 : คำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินเป็นส่วนหนึ่งคำพิพากษาคดีอาญา ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว แม้ทุนทรัพย์ส่วนแพ่งจะเกินกว่า 3 แสนบาทก็ตาม
11.                        ผู้เสียหายยื่นคำร้องบังคับใช้ค่าสินไหมทดแทน ป.วิ.อ. มาตรา 44/1
a.       หากเข้ามาตรา 43 – ลงโทษ 9 สถานแล้วจะเรียกซ่ำไม่ได้อีกตาม มาตรา 44/1 ว.3
b.      มิใช่ตามข้อ a. อัยการเรียกตาม มาตรา 44/1ได้
(5) พิจารณาคดีอาญาไม่เกิน 3 ปีหรือไม่เกิน 6หมื่อนบาท
1.     ถ้าความผิดหลายกระทง พิจารณาโทษอย่างสูงตามกฎหมายแต่ละกระทง
2.     จาก 1. แต่ละกระทงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียว และการลดโทษ หรือ การเพิ่มโทษในเหตุต่างๆ “โทษสุทธิ” ไม่เกินก็ย่อมได้
3.     หากคดีมีอัตราโทษในศาลแขวง และผู้พิพากษาคนเดียว แม้พิจารณาความผิดเกินอำนาจศาลแขวงก็เป็นเรื่องนอกความประสงค์ของโจทก์
4.     ในทางตรงกันข้ามข้อ3. คดีอยู่ในศาลจังหวัดเบาบาง ก็ไม่ทำให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอำนาจการลงโทษในศาลจังหวัดได้
5.     การบวกโทษที่รอไว้นั้น โทษสุทธิไม่เกินกว่า 6 เดือน อยู่ในอำนาจผู้พิพากษาคนเดียว แต่การกำหนดบวกโทษที่รอนั้น ผู้พิพากษาคนเดียวก็ทำได้ แต่โทษที่บวกนั้นต้องไม่เกินอำนาจของตน หากเกิน มาตรา 32(2)+29(3) เข้ามาบังคับ
6.     การกักกันไม่ใช่โทษ แต่เป็นวิธีเพื่อความปลอดภัย
7.     คำสั่งผนวกโทษ มิใช่ตาม ป.อ. มาตรา 18 ผู้พิพากษาคนเดียวก็มีอำนาจ